ทดสอบสรุปผลงาน http://no456852.siam2web.com/

นวตกรรม กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน

กรณีตัวอย่าง  บ้านโพธนาราม  หมู่ 8 ตำบลสันทราย

สถานีอนามัยตำบลสันทราย  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย

 

ความเป็นมา

                สถานีอนามัยตำบลสันทราย  ได้ดำเนินการตามนโยบายเมืองไทยแข็งแรง  (Healthy  Thailand)  ซึ่งประกอบด้วย  นโยบาย  6  .  ได้แก่  การออกกำลังกาย  อาหาร  อารมณ์  อโรคยา  อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข  โดยพบข้อจำกัดในการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายของนโยบาย  ดังนี้

                1.  ประชาชนยังขาดความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น  ร้อยละ 87.02   ของประชากรตัวอย่างอายุ 40 ปีขึ้นไป  กรณีบ้านโพธนาราม  หมู่ 8  จำนวน  110  ราย  โดยใช้แบบประเมินสภาวะสุขภาพผ่านการคัดกรองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

                2.  เวลาในการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน  เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและเป็นแรงงานนอกพื้นที่  จึงต้องอาศัยการปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับปฏิทินชุมชน  โดยศึกษาจากแฟ้มชุมชน (Community  Folder)  และการเข้าถึงชุมชนเป็นหลัก

                3.  การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน / ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น  ซึ่งภาระงานมาก  ต้องอาศัยรูปแบบประชาคมหมู่บ้านในการสร้างการมีส่วนร่วมและนำไปสู่การปฏิบัติในชุมชนภายใต้รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น

                4.  การประชาสัมพันธ์ภายในชุมชนไม่ทั่วถึง  เนื่องจากประสิทธิภาพของเสียงตามสายมีจำกัด  นอกจากนี้ช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกับสภาพการประกอบอาชีพของประชาชน  ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างครบถ้วน

                จากข้อมูลข้างต้น  สถานีอนามัยตำบลสันทราย  ร่วมกับ  องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน  ได้แก่  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ผู้นำชุมชน  แกนนำองค์กรในหมู่บ้าน  ร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์และสะท้อนสภาพการณ์/ความต้องการของชุมชน  จึงได้เกิดแนวคิดการประดิษฐ์  กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน  โดยคัดเลือกหมู่บ้านนำร่อง  ได้แก่  บ้านโพธนาราม  หมู่  8  ตำบลสันทราย  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย

                บ้านโพธนาราม  หมู่ 8  ตำบลสันทราย  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย  ประกอบด้วยประชากร  จำนวน  853  คน  เป็นชาย  458  คน  (ร้อยละ  53.69)   หญิง  395  คน  (ร้อยละ  46.31 )  สามารถจำแนกตามกลุ่มอายุ  (สถานีอนามัยตำบลสันทราย, 2550)  ดังนี้

                ประชากรอายุ  0 – 5 ปี                      จำนวน  30  คน                   ร้อยละ  3.52

                ประชากรอายุ  5 – 9 ปี                      จำนวน  34  คน                   ร้อยละ  3.99

                ประชากรอายุ  10 – 14 ปี                  จำนวน  61  คน                   ร้อยละ  3.52

                ประชากรอายุ  15 – 44 ปี                  จำนวน  377  คน                                ร้อยละ  44.20

                ประชากรอายุ  45 - 59 ปี                  จำนวน  201  คน                                ร้อยละ  23.56

                ประชากรอายุ  60 ปีขึ้นไป                จำนวน  150  คน                                ร้อยละ  17.58

                จากข้อมูลพบว่า  ประชากรส่วนใหญ่  อายุ  15 -44 ปี , อายุ 45 – 59 ปี และ อายุ 60 ปีขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ  44.20 ,  23.56  และ  17.58  ตามลำดับ

 

                ลักษณะทางภูมิศาสตร์  ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ  มีการตั้งบ้านเรือนเป็นแนวยาวตามแนวถนน  บนถนนพหลโยธิน  (แม่จัน เชียงแสน)  ห่างจากอำเภอแม่จัน  ประมาณ  5  กิโลเมตร  ทิศเหนือ ติดต่อ  บ้านหนองอ้อ  ตำบลป่าซาง  ทิศใต้  ติดต่อ  บ้านสันทราย  หมู่ 1  ตำบลสันทราย  อำเภอแม่จัน  ทิศตะวันออก  ติดต่อ  บ้านแม่สรวย  หมู่ 5 ตำบลจอมสวรรค์  อำเภอแม่จัน  และ  ทิศตะวันตก  ติดต่อ  บ้านเด่น  หมู่ 4  ตำบลสันทราย  ดังภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                ลักษณะทางการปกครองสังคม  และวัฒนธรรม          การปกครองภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  2  แห่ง  ได้แก่  องค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย  และ  เทศบาลตำบลสันทราย  ภายในหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน  เป็นผู้นำชุมชน  แบ่งการปกครองภายในหมู่บ้านออกเป็น  8  หมวด  สำหรับการพัฒนาร่วมแรงกันทำงานของส่วนรวม  ตลอดจนการระดมทรัพยากรภายในหมู่บ้าน  อาทิ  การจัดเก็บเงินเพื่อการกุศลและเงินเพื่อการบริหารจัดการของหมู่บ้านต่าง ๆ  เช่น  เงินฌาปนกิจสงเคราะห์  เป็นต้น  ความสัมพันธ์ของประชาชนในหมู่บ้านมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน  กล่าวคน  เดิมอพยพมาจากจังหวัดลำปาง  ทำให้เกิดความเป็นเครือญาติและบางส่วนมาจากการเคลื่อนย้ายประชากรจากพื้นที่อื่น  มีการพัฒนาความสัมพันธ์ในลักษณะของสังคมกึ่งเมือง  ดังจะเห็นได้จาก  การที่มีพื้นที่สำหรับเช่าและค้าขาย  เช่น  ห้องเช่า  ร้านค้า  เป็นต้น  สำหรับประเพณีเดิมที่ยังคงสืบทอดในปัจจุบัน  ได้แก่  การตานก๋วยสลาก  งานปอยหลวง  ประเพณีเดือนยี่เป็ง  ประเพณีเดือนสิบสอง(อุทิศส่วนกุศลไปยังญาติและบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ)  เดิมในงานบุญ  ประชาชนจะอาศัยหมวด  ระดมทรัพยากร ข้าวหม้อแกงหม้อ  ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวิธีรวบรวมเงินไว้ที่วัด  ซึ่งวัดถือเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นแหล่งจัดกิจกรรมของชุมชน  นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคและไสยศาสตร์  อาทิ  หมอเมือง  หมอดูเมื่อ เป็นต้น

                การบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ             น้ำ  อาศัยแม่น้ำจันเป็นหลักในการอุปโภคและบริโภค  ส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตร  เดิม เกษตรกรนิยมใช้ยาฆ่าแมลงและวัชพืช  ทำให้เกิดปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำและสัตว์น้ำ  นอกจากนี้ยังพบการหมักหมมของขยะและสิ่งปฏิกูลในแม่น้ำ  มีผลให้แม่น้ำตื้นเขินและเกิดอุทกภัยในฤดูฝน  สำหรับ  ดิน  ประชาชนมีปัญหาการถือครองที่ดินทำกิน  ส่วนใหญ่ยังต้องเช่าที่ดินทำกิน  โดยเฉพาะสำหรับการทำนาและการพิชผลทางการเกษตรเชิงเดี่ยว  เช่น  ข้าวโพด  และนิยมใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  มุ่งเน้นการค้าขายและการสร้างกำไร  ทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีและทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ปัจจุบัน  ประชาชนรวมกลุ่มเป็น  กลุ่มเกษตรอินทรีย์  เพื่อลดต้นทุนการผลิต  และฟื้นฟูสภาพความสมดุลของธรรมชาติ  โดยอาศัยวัสดุเหลือใช้จากการผลิตและวัสดุธรรมชาติ

                สภาพทางเศรษฐกิจ  ส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพทางการเกษตร  รับจ้าง  และค้าขาย  ตามลำดับส่วนใหญ่ประชากรวัยแรงงานจะอพยพไปทำงานในตัวเมืองเชียงรายหรือเข้าสู่เมืองหลวง  การผลิตส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพื่อการขายเป็นหลัก  แทนการแลกเปลี่ยน  เช่น  หาปลาแลกข้าว  เป็นต้น

                สถานะสุขภาพ  ประชากรบ้านโพธนาราม  หมู่  8  มีสาเหตุการเจ็บป่วย  (รายงาน 504, 2550)  ดังนี้

1.       ไข้หวัด                                   คิดเป็น   อัตรา      10,316.53            ต่อประชากรแสนคน

2.       ความดันโลหิตสูง                คิดเป็น   อัตรา      8,440.80               ต่อประชากรแสนคน

3.       ปวดกล้ามเนื้อ                      คิดเป็น   อัตรา      5,275.50               ต่อประชากรแสนคน

4.       ปวดศรีษะ                             คิดเป็น   อัตรา      5,041.03               ต่อประชากรแสนคน

5.       บาดแผลต่าง ๆ                     คิดเป็น   อัตรา      3,751.47               ต่อประชากรแสนคน

 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 5,991 Today: 7 PageView/Month: 10

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...